ททท. จับมือ สดร. เปิดมิติใหม่ของการท่องเที่ยวยามค่ำคืน
ปักหมุด18 โลเคชั่นเช็คลิสต์ เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด
ในโครงการ AMAZING DARK SKY IN THAILAND #Season 2
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) ร่วมกันเปิดตัวโครงการ AMAZING DARK SKY IN THAILAND #Season 2 โดยมีนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ททท. และผู้อำนวยการสำนักงาน ททท. ที่มีพื้นที่อยู่ในโครงการ รวมทั้งแขกผู้มีเดียรติอละสื่มวลชน ร่วมงาน ณ ห้องประชุมจารุวัสตร์ ชั้น 10 อาคารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2566
โครงการ AMAZING DARK SKY IN THAILAND #Season 2 นี้เป็นการผลักดันการท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ต่อเนื่อง เผยลิสต์ 18 พื้นที่ดูดาวแห่งใหม่ทั่วประเทศ พร้อมมอบโล่ประกาศแก่พื้นที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย เพื่อปลุกกระแสการเดินทางมิติใหม่สำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากสัมผัสความงดงามของธรรมชาติยามค่ำคืน
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า โครงการ “AMAZING DARK SKY IN THAILAND #Season 2” เป็นโครงการส่งเสริมการตลาดต่อเนื่อง ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง ททท. และ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. มุ่งสนับสนุนรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ (Experience-based-Tourism) โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ (Dark Sky Tourism) ให้เป็นหนึ่งในสินค้าการท่องเที่ยวที่สามารถส่งมอบประสบการณ์ท่องเที่ยวมิติใหม่ สร้างความหมายให้การเดินทางท่องเที่ยวในเมืองไทยมีคุณค่า แตกต่าง และน่าประทับใจมากกว่าที่เคย ทั้งยังสะท้อนศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวไทยในการนำเสนอกิจกรรมท่องเที่ยวที่หลากหลาย ตอบโจทย์ความสนใจของนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มได้อย่างครอบคลุม สอดรับกับแนวทางการขับเคลื่อนปีท่องเที่ยวไทย 2566
ภายใต้โครงการนี้ ททท. จะชวนนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความสนใจพิเศษ ผู้ที่สนใจดาราศาสตร์ ชื่นชอบการดูดาว และนักท่องเที่ยวทั่วไปเดินทางออกไปสร้างความสุขท่ามกลางธรรมชาติสัมผัสความสวยงามของท้องฟ้าประเทศไทย เรียนรู้ระบบสุริยจักรวาล ชมปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ครั้งĺสำคัญ เช่น สุริยุปราคา จันทรุปราคา ฝนดาวตก หรือชมความสวยงามของกลุ่มดาวจักรราศีและดวงดาวต่างๆ ที่ปรากฏในท้องฟ้าแต่ละเดือน นอกจากจะตื่นตาตื่นใจท้องฟ้าในยามค่ำคืน ณ สถานที่ดูดาวทั่วทุกภูมิภาคของไทย ยังสนุกสนานไปกับกิจกรรมสอดแทรกความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ ตลอดจนเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศเชื่อมโยงการท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงในแต่ละพื้นที่ของจังĺนั้นๆ ด้วย
ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ห่งชาติ กล่าวว่า สดร. ร่วมกับ ททท. ดำเนินโครงการ Dark Sky in Thailand หรือ เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2563 จนกระทั่งในปี 2565 ที่ผ่านมา ได้จัดพิธีมอบโล่และขึ้นทะเบียนเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทยขึ้นเป็นปีแรก ภายใต้แคมเปญ “Amazing Dark Sky in Thailand” มีสถานที่ผ่านการรับรองและขึ้นทะเบียน จำนวน 12 แห่ง ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนรวม 3 ปี ถือเป็นพื้นที่นำร่องที่ปลุกกระแสการท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ ใช้เป็นจุดขายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ และเป็นสถานที่ถ่ายภาพสำหรับกลุ่มนักดาราศาสตร์สมัครเล่น ได้เป็นอย่างดี
สำหรับเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ อุทยานท้องฟ้ามืด ชุมชนอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ส่วนบุคคล และเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ชานเมือง สถานที่ที่ขึ้นทะเบียนแต่ละประเภทจะต้องมีความมืดของท้องฟ้าที่เหมาะสม มีการบริหารจัดการแสงสว่างอย่างมีประสิทธิภาพ ปราศจากแสงรบกวน มีพื้นที่เปิดโล่งสังเกตท้องฟ้าได้โดยรอบ มองเห็นดาวเหนือ และวัตถุท้องฟ้าเด่น ๆ ได้ด้วยตาเปล่า มีบุคลากรในพื้นที่ที่สามารถให้ความรู้ทางดาราศาสตร์เบื้องต้นแก่นักท่องเที่ยวได้ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ แก่ผู้มาใช้บริการ เช่น เส้นทางคมนาคม ห้องน้ำ ที่พัก ร้านอาหาร เป็นต้น
จากกระแสตอบรับการท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ปีนี้สถานที่จากทั่วประเทศสมัครขอรับการขึ้นทะเบียนเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย ประจำปี 2566 จำนวน 26 แห่ง ผ่านการพิจารณาจำนวนทั้งสิ้น 18 แห่ง จึงขอแสดงความยินดีกับทุกแห่งที่ผ่านการคัดเลือก และได้รัการขึ้นทะเบียนในปีนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้ฯ จะช่วยกระตุ้นให้พื้นที่ และชุมชนใกล้เคียง รวมถึงในอีกหลายแห่งทั่วประเทศไทยเกิดความตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด และร่วมกันสงวนรักษาความมืดของท้องฟ้าเวลายามค่ำคืนให้เหมาะกับการเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์ และเชิงดาราศาสตร์ อีกทั้งยังช่วยลดผลกระทบจากมลภาวะทางแสงที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ รวมถึงลดการสิ้นเปลืองพลังงานอีกด้วย
ซึ่งในอนาคต สดร. ตั้งเป้าผลักดันให้เกิดเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ สำหรับเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แกอุทยานท้องฟ้ามืด ชุมชนอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ส่วนบุคคล และเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ชานเมือง สถานที่ที่ขึ้นทะเบียนแต่ละประเภทจะต้องมีความมืดของท้องฟ้าที่เหมาะสม มีการบริหารจัดการแสงสว่างอย่างมีประสิทธิภาพ ปราศจากแสงรบกวน มีพื้นที่เปิดโล่งสังเกตท้องฟ้าได้โดยรอบ มองเห็นดาวเหนือ และวัตถุท้องฟ้าเด่นๆ ได้ด้วยตาเปล่า มีบุคลากรในพื้นที่ที่สามารถให้ความรู้ทางดาราศาสตร์เบื้องต้นแก่นักท่องเที่ยวได้ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ แก่ผู้มาใช้บริการ เช่น เส้นทางคมนาคม ห้องน้ำ ที่พัก ร้านอาหาร เป็นต้น
ทั้งนี้ ผลการขึ้นทะเบียนเขนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย ปี 2566 ภายใต้โครงการ AMAZING DARK SKY IN THAILAND #Season 2 มีจำนวนทั้งสิ้น 18 แห่ง ประกอบด้วย
- อุทยานท้องฟ้ามืด (Dark Sky Park) จำนวน5 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ (ลานชมดาว) จ.กำแพงเพชร, อุทยานแห่งชาติตาพระยา (ลานกลางเต้นท์กลางดง) จ. สระแก้ว, อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ. นครราชสีมา, อุทยา0นแห่งชาติศรีน่าน (ดอยเสมอดาว) จ. น่าน และวนอุทยานน้ำตกผาหลวง จ. อุบลราชธานี
- เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ส่วนบุคคล (Dark Sky Properties) จำนวน 11 แห่ง ได้แก่ มีลา การ์เดน รีทรีท คอทเทจรีสอร์ท จ. สระบุรี , คีรีมาลา อีโค่ แคมป์ จ. ราชบุรี, ฟาร์มแสงสุข จ. ระยอง, ไร่เขาน้อยสุวณา จ. นครราชสีมา, ต้นข้าวหอมบ้านอ้อมดอย จ. เชียงใหม่, วิลลา เดอ วิว บูทีค รีสอร์ท เชียงดาว จ. เชียงใหม่, เชียงดาวฟาร์มสเตย์ จ. เชียงใหม่, บ้านสวน ป่าโป่งดอย จ. เชียงใหม่, เดอะ ทีค รีสอร์ท จ. เชียงใหม่, พูโตะ จ. เชียงใหม่ และ อ่าวโต๊ะหลี จ. พังงา
- เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ชานเมือง (Dark Sky Suburbs) จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ สวนสัตว์ขอนแก่น จ. ขอนแก่น และ ซัมมิท กรีนวัลเล่ย์ เชียงใหม่ จ. เชียงใหม่
นักท่องเที่ยวที่สนใจ สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติม และสมัครเพื่อขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทยได้ที่ https://darksky.narit.or.th/ หรือดาวน์โหลดหนังสือคู่มือการท่องเที่ยวดูดาว “ชวนเธอ
ไปชมดาว” ในรูปแบบ e-book ได้ที่ https://citly.me/81xbd
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น